วันจันทร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2554

Scanning Range Finder

Scanning Range Finder
จากรูปเป็น Sensor ที่ใช้ตรวจจับสิ่งกีดขวางที่อยู่ข้างหน้าของหุ่นยนต์ ทำให้หุ่นยนต์สามารถหลบหลีกสิ่งกีดขวางได้ ซึ่งกราฟที่ได้จาก Sensor จะเป็นระยะที่ Sensor นี้ตรวจจับได้ตามมุมต่างๆที่หมุนไปตามรูปด้านล่าง

Graph From Scanning Range Finder

วันพฤหัสบดีที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2554

Survey Paper For Thesis-1


Making planned paths look more human-like in humanoid robot
manipulation planning


งานวิจัยนี้เป็นการสร้าง Path Planning ของหุ่นยนต์ที่ชื่อ Justin Robot ให้มีท่าทางการหยิบจับสิ่งของเหมือนกับมนุษย์มากที่สุด โดยจะไม่ดูเก้งกางเหมือนกับในภาพทางด้านขวามือ ที่เมื่อเปรียบเทียบกับภาพด้านซ้ายมือแล้วจะเห็นว่าดูเป็นธรรมชาติและเหมือนมนุษย์มากกว่า ส่วนรายละเอียด ขั้นตอนและวิธีการของงานวิจัยนี้จะขอนำเสนอในบทความต่อไป

Learning Generalizable Control Programs

งานวิจัยนี้เป็นการสอนให้หุ่นยนต์เรียนรู้ที่จะจับลูกบอลย้ายไปยังตำแหน่งที่ต้องการ โดยหุ่นยนต์จะเริ่มจากการหยิบจับลูกบอลก่อน แล้วจึงย้ายลูกบอลผ่านมืออีกข้างไปวางยังตำแหน่งที่ต้องการตามลำดับดังรูปจาก (a) ไปยังรูป (d)

Learning, Generation, and Recognition of Motions by
Reference-Point-Dependent Probabilistic Models

งานวิจัยนี้เป็นการสอนให้หุ่นยนต์เรียนรู้และจำการเคลื่อนย้ายสิ่งของจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง โดยจะใช้จุดอ้างอิงที่ได้จากภาพเป็นข้อมูลในการเรียนรู้ ซึ่งจากรูปที่ 1 เป็นส่วนของแขนหุ่นยนต์ กับกล้องที่ใช้ในงานวิจัยนี้ และส่วนของรูปที่ 2 เป็นภาพที่บอก Path การเคลื่อนที่แต่ละจุดของการเคลื่อนย้ายสิ่งของ

Cart Pushing with a Mobile Manipulation System:
Towards Navigation with Moveable Objects



งานวิจัยนี้เป็นการทำให้หุ่นยนต์ที่ชื่อว่า PR2 เคลื่อนที่ย้ายรถเข็นจากจุดหนึ่งไปยังจุดหนึ่ง ซึ่งงานวิจัยนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการเคลื่อนที่ของหุ่นยนต์ @Home Robot ได้

PLANNING ALGORITHMS

จากรูปเป็นหนังสือที่บอกวิธีการสร้าง Path Planning ของหุ่นยนต์ หลายๆแบบ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการออกแบบการเคลื่อนที่ของหุ่นยนต์ โดยเฉพาะแขนของหุ่นยนต์


Robot@Home Design-2


Robot@Home Design-2

จากรูปแสดงถึงแขนและตัวของหุ่นยนต์ที่ออกแบบมาใหม่ ซึ่งส่วนที่ได้แก้ไข คือการลดขนาดของแขนหุ่นยนต์ให้สั้นลงเพื่อรองรับการติดตั้ง Gripper ที่อาจจะเพิ่มความยาวของแขนหุ่นยนต์ขึ้นอีก และยังเพิ่มช่วงความยาวของตัวหุ่นยนต์ให้ยาวขึ้นเพื่อให้หุ่นยนต์ดูสมดุลมากขึ้น ( เหมาะสมกับแขนหุ่นยนต์ ) นอกจากนี้ยังได้เพิ่มส่วนของ Gripper ที่ได้แก้ไขล่าสุดลงไปอีกด้วย
งานที่ต้องทำเพิ่มเติม
1 ออกแบบระบบขับเคลื่อนแบบล้อและฐานของหหุ่นยนต์
2 สั่งมอเตอร์สำหรับแขน หัวและตัวของหุ่นยนต์
3 สั่ง Part เพื่อ ประกอบ Gripper และ แขนของหุ่นยนต์

Gripper Design-3


Gripper Design-3

เนื่องจาก Gripper Design-2 มีข้อเสียเรื่องขนาดที่ใหญ่เกินไป ทำให้มีน้ำหนักมาก และใช้สายพานมากเกินไป จึงได้ออกแบบ Gripper Design-3 โดยลดจำนวนสายพานเหลือแค่ 1 สาย (เดิมใช้ 3 สาย) และใช้เฟืองขบกัน 1 คู่ เพื่อเปลี่ยนทิศทางการหมุนของนิ้วอีกข้าง และเพิ่มส่วนที่ยึดกับแขนกับหุ่นยนต์อีกด้วย

Gripper Design-2


Gripper Design-2

จากรูปเป็นการนำ Gripper ทั้ง 3 นิ้วมารวมกัน แล้วใช้มอเตอร์ Robotis Rx-64 เป็นตัวขับเคลื่อน ซึ่งในการขับเคลื่อนนิ้วทั้งสามจะแบ่งเป็น 2 ข้างๆละ 2 และ 1 นิ้วตามลำดับ ทำให้การหมุนของนิ้วต้องกลับข้างกัน ดังนั้นจึงได้เลือกใช้สายพานเป็นตัวส่งกำลังไปยังนิ้วแต่ละข้าง และยังใช้เฟืองขบกันเพื่อกลับทิศทางหมุนของนิ้วอีกข้าง ซึ่งทำให้นิ้วทั้งสองข้างสามารถกำและหงายได้

วันพุธที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

Gripper Design

 Finger Gripper

จากรูปเป็นการออกแบบนิ้วสำหรับใช้เป็นส่วนหยิบจับ ของหุ่นยนต์ ประกอบไปด้วย 3 ส่วนหลักๆ นั่นคือ
 1 Base  (ส่วนสีเขียว) เป็นส่วนที่ยึดจุดหมุนและโครงสร้างทั้งหมดของ Gripper 
 2 Link (ส่วนสีแดง) เป็นส่วนที่ใช้สัมผัสวัตถุของ Gripper มีจุดหมุนทั้งหมด 3 จุด และ
 3 Transmission Link (ส่วนสีน้ำเงิน) เป็นส่วนที่ใช้ในการส่งกำลัง ซึ่งจะสามารถทำให้นิ้วของ Gripper งอ ได้

วันอังคารที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

Rule Of Thailand Robot at Home Championship 2011

1 เครื่องที่ไปตามเส้นทางตามแผนที่ จากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งได้
2 เครื่องที่หลบสิ่งกีดขวางหรือสิ่งที่เคลื่อนไหวที่ไม่ทราบทิศทางไปยังจุดหมายที่กำหนดไว้ได้
3 โต้ตอบกับมนุษย์ โดยสามารถรับคำสั่งงานจากมนุษย์ได้
4 จดจำและแยกแยะใบหน้าของมนุษย์ได้
5 มีกลไกสามารถเคลื่อนย้ายสิ่งของจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งได้ อาทิเช่น หยิบจับแก้วนำเคลื่อนย้ายได้
6 การออกแบบรูปลักษณ์ของหุ่นยนต์สามารถแสดงถึงเอกลักษณ์ความไทยได้

Design Update @Home Robot


@Home Robot

ความก้าวหน้าการออกแบบ : ออกแบบกลไกแขน ลำตัวและส่วนหัว (Pan & Tilt)
                                      ทั้งหมด 17 DOF แยกเป็นแขนข้างละ 7 DOF ส่วนหัว 2 DOF
                                      และสำตัวอีก 1 DOF
งานออกแบบส่วนที่เหลือ   : ออกแบบ Gripper สำหรับหยิบจับ
                                     ออกแบบฐานและระบบการเคลื่อนที่ด้วยล้อของหุ่นยนต์

วันอังคารที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2554

RoboCup@Home 2010 at Singapore

ทีมที่ได้รางวัลชนะเลิศคือ ทีม eR@sers จาก Tamagawa University,The University of Electro-Communications, National Institute of Information and Communications Technology , Japan
ส่วนทีมที่ได้รางวัลรองชนะเลิศคือ ทีม NimbRo@Home จาก University of Bonn,Germany


สามารถดูตารางคะแนนได้ที่ http://www.robocup2010.org/competition_League.php?c=3&l=11&t=results


สิ่งที่ทำให้ ทีม eR@sers ชนะก็คือความฉลาดของหุ่นยนต์ที่ดีกว่าทีม NimbRo@Home เช่น
การจดจำใบหน้าของคน ว่าใครเป็นใคร ซึ่งจะเห็นได้จากตารางคะแนนว่าทีม eR@sers ทำได้ดีกว่า